ยินดีต้อนรับ และขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมแลกเปลี่ยน

เนื้อหาสาระในบล็อกนี้ผู้เขียนจะนำข้อมูลเกี่ยวกับการทำสวนยางพารา ทั้งที่เป็นประสบการณ์พบด้วยตนเอง การได้แลกเปลี่ยนกับคนอื่น การได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารวิชาการต่าง ๆ มาเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจในการทำสวนยางพารา หรือผู้ที่เป็นเจ้าของสวนยางอยู่แล้ว สามารถนำไปปรับใช้ ทุกขั้นตอนต้องพิจารณาในการนำไปปรับใช้อย่างถี่ถ้วนครับ เพราะลักษณะแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ดิน น้ำ ลม(อากาศ) ไฟ(อุณภูมิแสงแดด) ธาตุทั้งสี่ ไม่เหมือนกัน



วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สวนยางพารา : ปุ๋ยยางที่กรีดแล้วตอน 1

คงต้องลัดขั้นตอนอื่น ๆ มาเขียนบันทึกเรื่องราวของปุ๋ยยางที่กรีดแล้วก่อน เพราะช่วงนี้ (เดือนกรกฎาคม 2553) เพิ่งผ่านความแห้งแล้ง ช่วงเดือน มีนาคม เมษายน พฤษภาคม กลาง ๆ เดือน ก็ยังไม่มีฝน ซึ่งก็เป็นผลให้กับชาวสวนยางว่า ผ่านมาช่วงยางผลัดใบนั้น แห้งแล้งดินแข็งความชื่นไม่มีจะใส่ปุ๋ยกันอย่างไรได้ มาช่วงนี้ฝนมีพอสมควร น่าจะใส่ปุ๋ยกันได้บ้างแล้ว บางรายบางแปลงอาจจะกรีดไปแล้วแต่ปุ๋ยก็ยังไม่ได้ใส่
para5
ผ่านไปแล้วไม่ใส่ได้หรือเปล่า การใส่ปุ๋ยมันก็ไม่ได้มีว่าสายไปหรือไม่ สำหรับธนาคารน้อยของเรา(ต้นยาง) ที่เราใส่ปุ๋ยไม่ได้เพราะดินไม่มีความชื่นฝนไม่ตก ตอนนี้ตกแล้วก็ควรจะใส่ครับ
ทำไมล่ะ ? คิดดูนะครับ ท่านกรีดเอาน้ำยางออกมา ต้นยางใช้แร่ธาตุไปเยอะมากในการผลิตน้ำยางให้ท่าน หลังจากนั้นมาช่วงหนึ่ง ต้นยางผลัดใบ แตกใบอ่อน ออกดอก ติดลูก ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้ ต้นยางต้องใช้ธาตุอาหารทั้งนั้น และมากด้วย และมันก็มีไม่พอในดินแล้วและเราจะกรีดมันอีก ทางที่ดีและถูกต้องแล้ว ต้องเพิ่มธาตุอาหารในดินให้มันทันที เพื่อให้มันมีต้นที่สมบูรณ์ช่วยผลิตน้ำยางให้เรา ให้เราได้แลกมาเป็นเงิน
para
แล้วจะใส่อะไร ? ใส่อย่างไร ? ก็มาว่ากันต่อไป
ก็คงนี้ไม่พ้นว่าเป็นปุ๋ยเคมีหรอกครับ ถ้าพิจารณาว่าต้นยางที่มีอายุเพิ่งกรีดมาใหม่ ๆ อายุ ราว ๆ ปีที่ 6 ปี 7 ถ้าเคยปลูกพืชคลุมมาก่อน ร่วมถึงได้เคยใส่ปุ๋ยบำรุงมาตลอด ทางสถาบันวิจัยให้ข้อคิดชาวสวนยางว่า ท่านอาจไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยยางในช่วง 2 ปี แรกของการเริ่มกรีด ที่เป็นอย่างไรก็เพราะในดินยังมีปุ๋ยที่เคยใส่ตกค้างอยู้ต้นยางยังสามารถดูดเอามาใช้ได้ และในส่วนของพืชคลุมดินที่เราปลูกไว้ในสวนยางนั้น มันเป็นพืชกระกูลถั่ว ความหมายนี้คือ พืชตระกูลถั่วสามารถสร้างปุ๋ยทางธรรมชาติได้เอง โดยสามารถดึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ได้ซึ่งเป็นความพิเศษของพืชตระกูลถั่ว แต่จริง ๆ แล้ว ปัจจุบัน สวนยางที่ปลูกยางรุ่นใหม่ไม่ค่อยจะปลูกกัน ซึ่งน่าเสียดาย ที่ต้องสูญเสียโอกาสที่ไม่ต้องลงทุนตรงนี้ไป อาจเป็นเพราะเจ้าของสวนยางบางราย ไม่อยากยุ่งยากในเรื่องของการดุแล ทีมันชอบขึ้นต้นยางด้วยส่วนหนึ่ง จึงต้องปลดมันอยู่บ่อย ๆ
มาว่ากันแบบลัดเลยนะครับ จะใส่ปุ๋ยสูตรอะไรกันดี
สูตรปุ๋ยข้างกระสอบที่เขียน 3 ตัว หรือบางกระสอบ อาจจะ 4 ตัว (ตัวหน้า ตัวกลาง ตัวหลัง สูตรปุ๋ยยางส่วนมากมี 3 ตัว) เราค่อยว่ากันให้ละเอียดอีกครั้งในโอกาสต่อไป เอาเป็นว่าลัดเพื่อให้ถึงการปฏิบัติการจะใส่ปุ๋ยกันเลย
สำหรับต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว ต้นยางต้องการปุ๋ยอะไรอย่างไร ? เท่าไหร่ มีดังนี้ครับ

- ธาตุอาหารตัวหน้า ไนโตรเจน 300 กรัม ต่อต้นต่อปี
หรือ 24 กิโลกรัมต่อไร่ ต่อปี
- ธาตุอาหารตัวกลาง ฟอสฟอรัส 50 กรัม ต่อต้นต่อปี
หรือ 4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
- ธาตุอาหารตัวหลัง โพแทสเซี่ยม 180 กรัม ต่อต้นต่อปี
หรือ 14.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

เมื่อเรารู้ว่าต้นยางมีความต้องการธาตุอาหารปุ๋ยอย่างไรแล้วก็ไปหามาใส่กันต่อไป ทั้งนี้หากเป็นไปได้ และทำได้ เจ้าของสวนควรวิเคราะห์ดินก่อนว่า ดินมีอะไรอยู่บ้างแล้วและควรเพิ่มอะไรให้เท่าไหร่

<< ย้อนกลับ

2 ความคิดเห็น:

  1. นอกจากการเลือกใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับยางพาราแล้วการบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ก็มีความจำเป็น ดังนั้นการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกจึงมีความจำเป็นด้วยเช่นกัน

    อย่างไรก็ดีปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกนั้นมักมีเชื้อโรคเจือปน บางครั้งมีเศษหินเศษแก้วซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู่ใส่ปุ๋ยได้

    ฟายโตมัสเป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำผสมกรดฮิวมิคอยู่ 6% เหมาะสำหรับราดลงดินเพื่อปรับสภาพดินใช้แทนปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกได้ อีกทั้งกรดฮิวมิคมีฤทธิ์ทำให้ดินร่วนซุย และทำให้อัตราการดูดซึมแร่ธาตุในดินของพืชดีขึ้น ฟายโตมัสจึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งในการใช้ร่วมกับปุ๋ยเม็ด เพื่อให้ได้ผลผลิตน้ำยางพาราที่ดีที่สุด รายละอียดเพิ่มเติม http://www.thephytonova.com/ฟายโตมัส-กับ-ยางพารา

    ตอบลบ
  2. Top 10 New Slots from the best UK casinos - JTM Hub
    Read reviews of the best 용인 출장안마 new slots from the best 나주 출장마사지 UK casino 보령 출장마사지 providers from 부산광역 출장마사지 JTM Hub. Claim bonuses and free spins 부산광역 출장마사지 for your favourite slots.

    ตอบลบ