ยินดีต้อนรับ และขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมแลกเปลี่ยน

เนื้อหาสาระในบล็อกนี้ผู้เขียนจะนำข้อมูลเกี่ยวกับการทำสวนยางพารา ทั้งที่เป็นประสบการณ์พบด้วยตนเอง การได้แลกเปลี่ยนกับคนอื่น การได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารวิชาการต่าง ๆ มาเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจในการทำสวนยางพารา หรือผู้ที่เป็นเจ้าของสวนยางอยู่แล้ว สามารถนำไปปรับใช้ ทุกขั้นตอนต้องพิจารณาในการนำไปปรับใช้อย่างถี่ถ้วนครับ เพราะลักษณะแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ดิน น้ำ ลม(อากาศ) ไฟ(อุณภูมิแสงแดด) ธาตุทั้งสี่ ไม่เหมือนกัน



วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สวนยางพารา : ปุ๋ยยางที่กรีดแล้วตอน 1

คงต้องลัดขั้นตอนอื่น ๆ มาเขียนบันทึกเรื่องราวของปุ๋ยยางที่กรีดแล้วก่อน เพราะช่วงนี้ (เดือนกรกฎาคม 2553) เพิ่งผ่านความแห้งแล้ง ช่วงเดือน มีนาคม เมษายน พฤษภาคม กลาง ๆ เดือน ก็ยังไม่มีฝน ซึ่งก็เป็นผลให้กับชาวสวนยางว่า ผ่านมาช่วงยางผลัดใบนั้น แห้งแล้งดินแข็งความชื่นไม่มีจะใส่ปุ๋ยกันอย่างไรได้ มาช่วงนี้ฝนมีพอสมควร น่าจะใส่ปุ๋ยกันได้บ้างแล้ว บางรายบางแปลงอาจจะกรีดไปแล้วแต่ปุ๋ยก็ยังไม่ได้ใส่
para5
ผ่านไปแล้วไม่ใส่ได้หรือเปล่า การใส่ปุ๋ยมันก็ไม่ได้มีว่าสายไปหรือไม่ สำหรับธนาคารน้อยของเรา(ต้นยาง) ที่เราใส่ปุ๋ยไม่ได้เพราะดินไม่มีความชื่นฝนไม่ตก ตอนนี้ตกแล้วก็ควรจะใส่ครับ
ทำไมล่ะ ? คิดดูนะครับ ท่านกรีดเอาน้ำยางออกมา ต้นยางใช้แร่ธาตุไปเยอะมากในการผลิตน้ำยางให้ท่าน หลังจากนั้นมาช่วงหนึ่ง ต้นยางผลัดใบ แตกใบอ่อน ออกดอก ติดลูก ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้ ต้นยางต้องใช้ธาตุอาหารทั้งนั้น และมากด้วย และมันก็มีไม่พอในดินแล้วและเราจะกรีดมันอีก ทางที่ดีและถูกต้องแล้ว ต้องเพิ่มธาตุอาหารในดินให้มันทันที เพื่อให้มันมีต้นที่สมบูรณ์ช่วยผลิตน้ำยางให้เรา ให้เราได้แลกมาเป็นเงิน
para
แล้วจะใส่อะไร ? ใส่อย่างไร ? ก็มาว่ากันต่อไป
ก็คงนี้ไม่พ้นว่าเป็นปุ๋ยเคมีหรอกครับ ถ้าพิจารณาว่าต้นยางที่มีอายุเพิ่งกรีดมาใหม่ ๆ อายุ ราว ๆ ปีที่ 6 ปี 7 ถ้าเคยปลูกพืชคลุมมาก่อน ร่วมถึงได้เคยใส่ปุ๋ยบำรุงมาตลอด ทางสถาบันวิจัยให้ข้อคิดชาวสวนยางว่า ท่านอาจไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยยางในช่วง 2 ปี แรกของการเริ่มกรีด ที่เป็นอย่างไรก็เพราะในดินยังมีปุ๋ยที่เคยใส่ตกค้างอยู้ต้นยางยังสามารถดูดเอามาใช้ได้ และในส่วนของพืชคลุมดินที่เราปลูกไว้ในสวนยางนั้น มันเป็นพืชกระกูลถั่ว ความหมายนี้คือ พืชตระกูลถั่วสามารถสร้างปุ๋ยทางธรรมชาติได้เอง โดยสามารถดึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ได้ซึ่งเป็นความพิเศษของพืชตระกูลถั่ว แต่จริง ๆ แล้ว ปัจจุบัน สวนยางที่ปลูกยางรุ่นใหม่ไม่ค่อยจะปลูกกัน ซึ่งน่าเสียดาย ที่ต้องสูญเสียโอกาสที่ไม่ต้องลงทุนตรงนี้ไป อาจเป็นเพราะเจ้าของสวนยางบางราย ไม่อยากยุ่งยากในเรื่องของการดุแล ทีมันชอบขึ้นต้นยางด้วยส่วนหนึ่ง จึงต้องปลดมันอยู่บ่อย ๆ
มาว่ากันแบบลัดเลยนะครับ จะใส่ปุ๋ยสูตรอะไรกันดี
สูตรปุ๋ยข้างกระสอบที่เขียน 3 ตัว หรือบางกระสอบ อาจจะ 4 ตัว (ตัวหน้า ตัวกลาง ตัวหลัง สูตรปุ๋ยยางส่วนมากมี 3 ตัว) เราค่อยว่ากันให้ละเอียดอีกครั้งในโอกาสต่อไป เอาเป็นว่าลัดเพื่อให้ถึงการปฏิบัติการจะใส่ปุ๋ยกันเลย
สำหรับต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว ต้นยางต้องการปุ๋ยอะไรอย่างไร ? เท่าไหร่ มีดังนี้ครับ

- ธาตุอาหารตัวหน้า ไนโตรเจน 300 กรัม ต่อต้นต่อปี
หรือ 24 กิโลกรัมต่อไร่ ต่อปี
- ธาตุอาหารตัวกลาง ฟอสฟอรัส 50 กรัม ต่อต้นต่อปี
หรือ 4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
- ธาตุอาหารตัวหลัง โพแทสเซี่ยม 180 กรัม ต่อต้นต่อปี
หรือ 14.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

เมื่อเรารู้ว่าต้นยางมีความต้องการธาตุอาหารปุ๋ยอย่างไรแล้วก็ไปหามาใส่กันต่อไป ทั้งนี้หากเป็นไปได้ และทำได้ เจ้าของสวนควรวิเคราะห์ดินก่อนว่า ดินมีอะไรอยู่บ้างแล้วและควรเพิ่มอะไรให้เท่าไหร่

<< ย้อนกลับ